ประวัติพระยาพิชัยดาบหัก
สร้างวีรกรรมที่ลือเลื่อง พระยาพิชัยดาบหักเป็นเจ้าเมืองพิชัย ในสมัยกรุงธนบุรี พ.ศ. ๒๓๑๖ เมื่อพม่ายกกองทัพมาตีเมืองพิชัย พระยาพิชัยก็ยกพลทหารออกไปรบแต่กลางทางยังไม่ถึงเมืองเจ้าพระยาสุรสีห์ก็ยกกองทัพเมืองพระพิษณุโลกขึ้นไปช่วยได้รบกับพม่าพระยาพิชัยถือดาบสองมือคุมทหารออกไล่ฟันพม่าจนดาบหักจึงลือชื่อปรากฏเรียกว่า พระยาพิชัยดาบหัก แต่จะเห็นได้ว่าชื่อ พระยาพิชัยดาบหัก ก็เรียกขานกันมานานถึง ๒๐๐ กว่าปี จนกระทั่งทางจังหวัดอุตรดิตถ์ได้สร้างอนุสาวรีย์ขึ้นที่หน้าศาลากลางจังหวัดและทางอำเภอพิชัยก็ได้ปั้นรูปพระยาพิชัยดาบหักประดิษฐานอยู่ในศาลเจ้าพ่อพระยาพิชัยดาบหักอีกด้วย
ในปลายปี พ.ศ. ๒๓๑๓ นี้เองโปมะยุง่วน ซึ่งพม่าตั้งให้รักษาเมืองเชียงใหม่ได้ยกทัพชาวพม่าและชาวลานนาลงมาตีเมืองสวรรคโลกพระยาพิชัยก็ยกทัพเมืองพิชัยไปช่วยรบร่วมกับกองทัพเมืองพิษณุโลกตีทัพพม่าพ่ายหนีไปต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๑๕ โปสุพลาซึ่งมาอยู่ช่วยราชการรักษาเมืองเชียงใหม่นั้นยกกองทัพตีเมืองลับแล ณ วัดเอกา พระยาพิชัยก็จัดแจงการป้องกันเมืองเป็นสามารถเจ้าพระยาสุรสีห์ก็ยกกองทัพเมืองพิษณุโลกขึ้นไปช่วยเมืองพิชัยและเจ้าพระยาสุรสีห์กับพระยาพิชัยยกพลทหารเข้าตีค่ายพม่า พม่าออกต่อรบ ๆ กันถึงอาวุธสั้นพลทัพไทยไล่ตะลุมบอลฟันแทงพลทหารพม่าล้มตายเป็นอันมากพม่าต้านทานมิได้ก็แตกพ่ายหนีเลิกทัพกลับไปเมืองเชียงใหม่ รุ่งขึ้นอีกปีหนึ่งโปสุพลายกกองทัพมาตีพิชัยอีกพระยาพิชัยก็ยกพลทหารออกไปรบแต่กลางทางยังไม่มาถึงเมืองเจ้าพระยาสุรสีห์ก็ยกกองทัพเมืองพระพิษณุโลกขึ้นไปช่วยได้รบกับพม่าเป็นสามารถและพระยาพิชัยถือดาบสองมือคุมทหารออกไล่ฟันพม่าจนดาบหักจึงลือชื่อ ปรากฏเรียกว่า พระยาพิชัยดาบหัก แต่นั้นมาตอนที่พระยาพิชัยคุมพลทหารออกไล่ฟันแทงพม่านั้น เนื่องจากกำลังชุลมุนฟันแทงกันอยู่เท้าพระยาพิชัยเหยียบดินลื่นเซจะล้มจึงเอาดาบยันดินไว้เพื่อมิให้ล้มดาบจึงหักไป ๑ เล่ม พม่าเห็นพระยาพิชัยเสียเชิงเช่นนั้นจึงกลับหน้าปราดเข้ามาฟันหมื่นหาญณรงค์รานทหารคู่ชีพของพระยาพิชัยก็ทะลึ่งเข้ารับพม่า ผู้นั้นมิทันทำร้ายพระยาพิชัยได้พม่าผู้นั้นเสียท่าหมื่นหาญณรงค์ฟันตายแต่แล้วกระสุนปืน พม่ายิงมาถูกหมื่นหาญณรงค์ตรงอกทะลุหลังล้มพับลงขาดใจตายในขณะนั้นพระยาพิชัยเห็นหมื่นหาญณรงค์ถูกกระสุนปืนเข้าศึกตายดังนั้นก็เสียใจอาลัยหมื่นหาญณรงค์ผู้เพื่อนยากยิ่งนักเลยบันดาลโทสะเข้าไล่ตลุมบอนฟันแทงพม่ามิได้คิดแก่ชีวิตพม่าต้านทานไม่ไหวก็แตกพ่ายไป
เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีสร้างเมืองธนบุรีเป็นราชธานีแล้วจึงทรงดำเนินการปราบก๊กต่าง ๆ ที่ตั้งตัวเป็นใหญ่ทางภาคตะวันออกปราบได้ก๊กของกรมหมื่นเทพพิพิธซึ่งตั้งตัวใหญ่ที่เมืองพิมายและโปรด ฯ แต่งตั้งให้เจ้าหมื่นไวยวรนาถเป็นพระยาสีหราชเดโชแล้วจึงเสด็จยกทัพไปปราบปรามก๊กฝ่ายเหนือปราบได้ก๊กเจ้าพระฝางเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๓ แล้วโปรด ฯ แต่งตั้งให้พระยาสีหราชเดโชเป็นพระยาพิชัยให้ครองเมืองพิชัย เมื่อพระยาพิชัยครองเมืองนั้นได้ทราบว่าบิดาถึงแก่กรรมเสียแล้วยังอยู่แต่มารดาจึงใช้ให้ทหารไปตามตัวมาหา พอมารดามาถึงก็หมอบกราบไม่เงยหน้าดูเพราะความกลัวด้วยยังไม่ทราบว่าเป็นบุตรของตัวพระยาพิชัยรีบลุกไปจับมือมารดาไว้ห้ามไม่ให้กราบไหว้ พลางกราบลงกับเท้ามารดาแล้วเล่าเหตุการณ์ที่ได้ซัดเซพเนจรให้มารดาฟังแต่ต้นจนได้มาครองเมืองพิชัย เมื่อมารดาทราบว่าท่านเป็นบุตรก็ร้องไห้ด้วยความดีใจอย่างสุดปลื้มแต่ก่อนชาวบ้านเรียก มารดาท่านว่านางนั่นยายนี่ต้องกลับบ้านเรียกว่าคุณแม่ใหญ่ในจวน
พระยาพิชัยดาบหักได้ร่วมรบกับพม่าอีกหลายครั้งจนกระทั่งสิ้นแผ่นดินพระเจ้ากรุงธนบุรีพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเสด็จขึ้นเถลิงถวัลราชสมบัติ ณ กรุงเทพมหานคร โปรดเกล้าให้เสนาบดีเรียกตัวพระยาพิชัยดาบหักลงไปถามว่าจะยอมอยู่ทำราชการต่อไปหรือไม่ ถ้ายอมอยู่จะเลี้ยงเพราะหาความผิดมิได้พระยาพิชัยดาบหักตรองเห็นว่าขืนอยู่ไปคงได้รับภัยมิใดก็วันหนึ่งเพราะตัวท่านเป็นข้าหลวงเดิมอันสนิทของพระเจ้าตากย่อมเป็นที่ระแวงท่านผู้จะเป็นประมุขแผ่นดินต่อไปทั้งประกอบด้วยความเศร้าโศกอาลัยในพระเจ้ากรุงธนบุรีสิ้นความอาลัยในชีวิตของตนจึงตอบว่าไม่ยอมอยู่จะขอตายตามเสด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีขอฝากแต่บุตรชายให้ได้ทำราชการสนองพระเดชพระคุณสืบสกุลต่อไปภายหน้าฉะนั้นจึงโปรดเกล้า ฯ ให้ประหารชีวิตเสียเมื่อพระยาพิชัยดาบหักสิ้นอายุได้ ๔๑ ปีจึงโปรดเกล้า ฯ ให้เสนาบดีท้องตราถึงผู้ครองเมืองเชียงใหม่ให้รับบุตรชายพระยาพิชัยดาบหักเข้าเป็นราชการต่อไปตามควรแก่ความสามารถ ฉะนี้บุตรหลานพระยาพิชัยดาบหักจึงเป็นข้าราชการการลำดับมาจนถึงทุกวันนี้และในสมัยรัชกาลที่ ๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ผู้สืบตระกูลได้รับพระราชทานนามสกุลว่า วิชัยขัทคะ นามนี้ถ้าแปลตามความเข้าใจก็คือ ดาบวิเศษของพระยาพิชัยดาบหักนั่นเอง
จากประวัติศาสตร์ที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นนี้คนไทยควรจะรู้สำนึกในการรักแผ่นดินเกิดและความกตัญญูกตเวทีกับผู้มีพระคุณ เหมือนกับที่พระยาพิชัยดาบหักได้ปกป้องบ้านเมืองของเราคนไทยเอาไว้ ถ้าคนไทยไม่รู้จักรักและสามัคคีกันแล้วประเทศไทยจะเป็นอย่างไร บรรพบุรุษของไทยได้กอบกู้เอกราชเพื่อให้คนไทยทุกคนมีแผ่นดินที่อยู่ที่ทำกินแล้วคนไทยจะรักษาแผ่นดินที่บรรพบุรุษสร้างไว้เพื่อให้ลูกหลานในอนาคตของเราอยู่ต่อสืบไปอีกนานเท่านาน
|
พระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนาสามารถขัดเกลาจิตใจมนุษย์ให้เป็นคนดี มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ การใช้ชีวิตโดยยึดหลักเดินทางสายกลาง
บทความที่ได้รับความนิยม
-
พระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (บาลี: buddhas a sana พุทฺธศาสนา , สันสกฤต: buddha śā sana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ...
-
ที่มา www.north-thai-travel.exteen.com ประวัติพระยาพิชัยดาบหัก สร้างวีรกร...
-
พระสุนทรโวหาร นามเดิม ภู่ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า สุนทรภู่ ( 26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 - พ.ศ. 2398 ) เป็น กวี ชาวไทยที่มีชื่อเส...
วันศุกร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556
ประวัติศาสตร์ไทย พระยาพิชัยดาบหัก
ประวัติสุรทรภู่
พระสุนทรโวหาร นามเดิม ภู่ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า สุนทรภู่ (26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 - พ.ศ. 2398) เป็นกวีชาวไทยที่มีชื่อเสียง ได้รับยกย่องเป็น เชกสเปียร์แห่งประเทศไทย[1] เกิดหลังจากตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ได้ 4 ปี และได้เข้ารับราชการเป็นกวีราชสำนักในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อสิ้นรัชกาลได้ออกบวชเป็นเวลาร่วม 20 ปี ก่อนจะกลับเข้ารับราชการอีกครั้งในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเป็นอาลักษณ์ในสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้เลื่อนตำแหน่งเป็น พระสุนทรโวหาร เจ้ากรมอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวังบวร ซึ่งเป็นตำแหน่งราชการสุดท้ายก่อนสิ้นชีวิต
สุนทรภู่เป็นกวีที่มีความชำนาญทางด้านกลอน ได้สร้างขนบการประพันธ์กลอนนิทานและกลอนนิราศขึ้นใหม่จนกลายเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางสืบเนื่องมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ผลงานที่มีชื่อเสียงของสุนทรภู่มีมากมายหลายเรื่อง เช่น นิราศภูเขาทอง นิราศสุพรรณ เพลงยาวถวายโอวาท กาพย์พระไชยสุริยา และ พระอภัยมณี เป็นต้น โดยเฉพาะเรื่อง พระอภัยมณีได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของวรรณคดีประเภทกลอนนิทาน และเป็นผลงานที่แสดงถึงทักษะ ความรู้ และทัศนะของสุนทรภู่อย่างมากที่สุด งานประพันธ์หลายชิ้นของสุนทรภู่ได้รับเลือกให้เป็นส่วนหนึ่งในหลักสูตรการเรียนการสอนนับแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน เช่น กาพย์พระไชยสุริยา นิราศพระบาท และอีกหลาย ๆ เรื่อง
ปี พ.ศ. 2529 ในโอกาสครบรอบ 200 ปีชาตกาล สุนทรภู่ได้รับยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านงานวรรณกรรม ผลงานของสุนทรภู่ยังเป็นที่นิยมในสังคมไทยอย่างต่อเนื่องตลอดมาไม่ขาดสาย และมีการนำไปดัดแปลงเป็นสื่อต่าง ๆ เช่น หนังสือการ์ตูน ภาพยนตร์ เพลง รวมถึงละคร มีการก่อสร้างอนุสาวรีย์สุนทรภู่ไว้ที่ตำบลกร่ำอำเภอแกลง จังหวัดระยอง บ้านเกิดของบิดาของสุนทรภู่ และเป็นที่กำเนิดผลงานนิราศเรื่องแรกของท่านคือ นิราศเมืองแกลง นอกจากนี้ยังมีอนุสาวรีย์แห่งอื่น ๆ อีก เช่น ที่วัดศรีสุดาราม ที่จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดนครปฐม วันเกิดของสุนทรภู่คือวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี ถือเป็น วันสุนทรภู่ ซึ่งเป็นวันสำคัญด้านวรรณกรรมของไทย มีการจัดกิจกรรมเชิดชูเกียรติคุณและส่งเสริมศิลปะการประพันธ์บทกวีจากองค์กรต่าง ๆ โดยทั่วไป
กวีราชสำนัก
สุนทรภู่ได้เข้ารับราชการในกรมพระอาลักษณ์เมื่อ พ.ศ. 2359 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 2 มูลเหตุในการได้เข้ารับราชการนี้
ไม่ปรากฏแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าอาจแต่งโคลงกลอนได้เป็นที่พอพระทัย
ทราบถึงพระเนตรพระกรรณจึงทรงเรียกเข้ารับราชการ
แนวคิดหนึ่งว่าสุนทรภู่เป็นผู้แต่งกลอนในบัตรสนเท่ห์ ซึ่งปรากฏชุกชุมอยู่ในเวลานั้น อีกแนวคิดหนึ่งสืบเนื่องจาก
"ช่วงเวลาที่หายไป" ของสุนทรภู่ ซึ่งน่าจะใช้วิชากลอนทำมาหากินเป็นที่รู้จักเลื่องชื่ออยู่
ชะรอยจะเป็นเหตุให้ถูกเรียกเข้ารับราชการก็ได้
เมื่อแรกสุนทรภู่รับราชการเป็นอาลักษณ์ปลายแถว
มีหน้าที่เฝ้าเวลาทรงพระอักษรเพื่อคอยรับใช้ แต่มีเหตุให้ได้แสดงฝีมือกลอนของตัว
เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงแต่งกลอนบทละครในเรื่อง "รามเกียรติ์" ติดขัดไม่มีผู้ใดต่อกลอนได้ต้องพระราชหฤทัย
จึงโปรดให้สุนทรภู่ทดลองแต่ง ปรากฏว่าแต่งได้ดีเป็นที่พอพระทัย จึงทรงพระกรุณาฯ
เลื่อนให้เป็น ขุนสุนทรโวหาร การต่อกลอนของสุนทรภู่คราวนี้เป็นที่รู้จักทั่วไป
เนื่องจากปรากฏรายละเอียดอยู่ในพระนิพนธ์ ชีวิตและงานของสุนทรภู่ ของสมเด็จฯ
กรมพระยาดำรงราชานุภาพ บทกลอนในรามเกียรติ์ที่สุนทรภู่ได้แต่งในคราวนั้นคือ ตอนนางสีดาผูกคอตาย และตอนศึกสิบขุนสิบรถ ฉากบรรยายรถศึกของทศกัณฐ์สุนทรภู่ได้เลื่อนยศเป็น หลวงสุนทรโวหาร ในเวลาต่อมา ได้รับพระราชทานบ้านหลวงอยู่ที่ท่าช้าง ใกล้กับวังท่าพระ และมีตำแหน่งเข้าเฝ้าเป็นประจำ
คอยถวายความเห็นเกี่ยวกับพระราชนิพนธ์และพระนิพนธ์วรรณคดีเรื่องต่าง ๆ
รวมถึงได้ร่วมในกิจการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์
โดยเป็นหนึ่งในคณะร่วมแต่ง ขุนช้างขุนแผน ขึ้นใหม่
ระหว่างรับราชการ
สุนทรภู่ต้องโทษจำคุกเพราะถูกอุทธรณ์ว่าเมาสุราทำร้ายญาติผู้ใหญ่
แต่จำคุกได้ไม่นานก็โปรดพระราชทานอภัยโทษ
เล่ากันว่าเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงติดขัดบทพระราชนิพนธ์เรื่องสังข์ทอง ไม่มีใครแต่งได้ต้องพระทัยภายหลังพ้นโทษ
สุนทรภู่ได้เป็นพระอาจารย์ถวายอักษรสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอาภรณ์ พระราชโอรสในรัชกาลที่
2 เชื่อว่าสุนทรภู่แต่งเรื่อง สวัสดิรักษา ในระหว่างเวลานี้
ในระหว่างรับราชการอยู่นี้ สุนทรภู่แต่งงานใหม่กับแม่นิ่ม
มีบุตรด้วยกันหนึ่งคน ชื่อพ่อตาบ
|
พระพุทศาสนา
พระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (บาลี: buddhasasana พุทฺธศาสนา, สันสกฤต: buddhaśāsana พุทธศาสนา)
เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นพระบรมศาสดา
มีพระธรรมที่พระบรมศาสดาตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เองตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มี
พระสงฆ์ หรือสังฆะแห่งพุทธบริษัท 4
เป็นชุมชนของผู้นับถือศาสนาและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา
เพื่อสืบทอดไว้ซึ่งคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย1
ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม
คือเชื่อว่าไม่มีพระเจ้าและเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ด้วยความเพียรของตน
กล่าวคือ ศาสนาพุทธสอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเองด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม
กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกาย
คือ ให้พึ่งตนเอง เพื่อพาตัวเองออกจากกอง ทุกข์
มีจุดมุ่งหมายคือการสอนให้มนุษย์หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงในโลกด้วยวิธีการสร้าง
ปัญญา ในการอยู่กับความทุกข์อย่างรู้เท่าทันตามความเป็นจริง
วัตถุประสงค์สูงสุดของศาสนา คือ
การหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงและวัฏจักรการเวียนว่ายตายเกิด
เช่นเดียวกับที่พระศาสดาทรงหลุดพ้นได้ด้วยกำลังสติปัญญาและความเพียรของพระองค์เอง
ในฐานะที่พระองค์ก็ทรงเป็นมนุษย์ มิใช่เทพเจ้าหรือทูตของพระเจ้าองค์ใด
พระศาสดาพระองค์ปัจจุบันคือพระโคตมพุทธเจ้า มีพระนามเดิมว่า
เจ้าชายสิทธัตถะ ได้ทรงเริ่มออกเผยแผ่คำสอนในชมพูทวีป ตั้งแต่สมัยพุทธกาล
แต่หลังปรินิพพานของพระพุทธเจ้า พระธรรมวินัยที่พระองค์ทรงสั่งสอน
ได้ถูกรวบรวมเป็นหมวดหมู่ด้วยการสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งแรก
จนมีการรวบรวมขึ้นเป็นพระไตรปิฎก
ซึ่งเป็นหลักการสำคัญที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาตลอดของฝ่าย เถรวาท
ที่ยึดหลักไม่ยอมเปลี่ยนแปลงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
แต่ในการสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่สอง ได้เกิดแนวคิดที่เห็นต่างออกไปว่าธรรมวินัยสามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ตามเวลาและสถานการณ์เพื่อความอยู่รอดแห่งศาสนาพุทธ
แนวคิดดังกล่าวจึงได้เริ่มก่อตัวและแตกสายออกเป็นนิกายใหม่ในชื่อของ
มหายาน ทั้งสองนิกายได้แตกนิกายย่อยไปอีกและเผยแพร่ออกไปทั่วดินแดนเอเชียและใกล้เคียง
บ้างก็จัดว่า วัชรยาน เป็นอีกนิกายหนึ่ง แต่บ้างว่าเป็นส่วนหนึ่งของนิกายมหายาน
แต่การจัดมากกว่านั้นก็มี
หลักพื้นฐานสำคัญของปฏิจสมุปบาท
เป็นเพียงหลักเดียวที่เป็นคำสอนร่วมกันของคติพุทธ
สิ่งเคารพสูงสุด
พระรัตนตรัย คือ
สรณะที่พึ่งอันประเสริฐในศาสนาพุทธ สรณะ หมายถึง
สิ่งที่ให้ศาสนิกชนถือเอาเป็นแบบอย่าง หรือให้เอาเป็นตัวอย่าง
แต่มิได้หมายความว่าเมื่อเคารพแล้วจะดลบันดาลสิ่งต่าง ๆ ตามต้องการได้
พระรัตนตรัยนั้นประกอบด้วยองค์สาม (ไตรสรณะ) ได้แก่
พระพุทธเจ้า เป็นผู้ที่บำเพ็ญสั่งสมบารมีมาหลายภพชาติ จนชาติสุดท้ายเกิดเป็นมนุษย์แล้วอาศัยความเพียรพยายามและสติปัญญาปฏิบัติจนได้บรรลุสิ่งที่ต้องการคือธรรมอันเป็นเครื่องออกจากทุกข์
แล้วจึงทรงชี้แนะหรือชี้ทางให้คนอื่นทำตาม
พระธรรม คือ
คำสอนว่าด้วยธรรมชาติที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบแล้วว่าทำให้พ้นจากทุกข์
พระสงฆ์
คือหมู่ชนหรือชุมชนของพระสาวกไม่ว่ามนุษย์หรือเทวดา
ที่ทำตามคำแนะนำของพระพุทธเจ้าแล้ว ประสบผลสำเร็จพ้นทุกข์ตามพระพุทธเจ้า
ศาสดาของศาสนาพุทธ
คือ พระโคตมพุทธเจ้า
มีพระนามเดิมว่า เจ้าชายสิทธัตถะ ประสูติในดินแดนชมพูทวีป ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ
เดือน 6 80 ปีก่อนพุทธศักราช ณ สวนลุมพินีวัน
เจ้าชายสิทธัตถะผู้เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายา
ทรงดำรงตำแหน่งรัชทายาท ผู้สืบทอดราชบัลลังก์กรุงกบิลพัสดุ์แห่งแคว้นสักกะ
และเมื่อพระชนมายุ 16 ชันษา ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงยโสธราแห่งเมืองเทวทหะ
ต่อมาเมื่อพระชนมายุ 29 ชันษา มีพระโอรส 1 พระองค์พระนามว่า ราหุล
ในปีเดียวกัน พระองค์ทอดพระเนตรเทวทูตทั้งสี่
คือ คนเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนตาย จึงทรงตัดสินพระทัยออกผนวชเป็นสมณะ
เพื่อแสวงหาความหลุดพ้นจากทุกข์ คือ ความแก่ เจ็บ และตาย ในปีเดียวกันนั้น ณ ริมฝั่งแม่น้ำอโนมานที
และหลังจากออกผนวชมา 6 พรรษา ทรงประกาศการค้นพบว่าการหลุดพ้นจากทุกข์ทำได้ด้วยการฝึกจิตด้วยการเจริญสติ
ประกอบด้วยศีล สมาธิ และปัญญา จนสามารถรู้ทุกสิ่งตามความเป็นจริงว่า
เป็นทุกข์เพราะสรรพสิ่งไม่สมบูรณ์ ไม่แน่นอน และบังคับให้เป็นดั่งใจไม่ได้
จนไม่เห็นสิ่งใดควรยึดมั่นถือมั่นหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง จวบจนได้ทรงบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
คือ การตรัสรู้ อริยสัจ 4 ขณะมีพระชนมายุได้ 35 ชันษา ที่ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์
ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม
จากนั้นพระองค์ได้ออกประกาศสิ่งที่พระองค์ตรัสรู้ตลอดพระชนม์ชีพ เป็นเวลากว่า 45
พรรษา ทำให้ศาสนาพุทธดำรงมั่นคงในฐานะศาสนาอันดับหนึ่งอยู่ในชมพูทวีปตอนเหนือ
จวบจนพระองค์ได้เสด็จปรินิพพาน เมื่อพระชนมายุได้ 80 พระชันษา ณ สาลวโนทยาน
(ในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)